SECI Model


SECI MODEL 


โมเดลการจัดการความรู้
          โมเดลเซกิ (SECI Model) ถูกเสนอโดย โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และTakeuchi,1995) คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน กระบวนการ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร เริ่มจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) การควบรวมความรู้ (Combination) และการผนึกฝังความรู้ (Internalization) และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อพัฒนาการจัดการความรู้ให้เป็นงานประจำที่ยั่งยืน



              1. Socialization  เป็นการแบ่งปันประสบการณ์หรือความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (tacit knowledge ) ผ่านการสื่อสารแบบเผชิญหน้าเป็นรายบุคคล   เช่นการฝึกงานแบบ on job training (OJT)  หรือฝึกงานกันพี่เลี้ยง  พี่สอนน้อง  (mentor) ซึ่งจะเห็นได้ว่าความรู้แฝงที่ถ่ายทอดออกมานั้นไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาพูดแต่เป็นการถ่ายทอดโดยการกระทำหรือกิจกรรมให้ผู้ฝึกงานได้เห็นและเลียนแบบพฤติกรรมและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้  ซึ่งเป็นการดึงความรู้ที่ฝังลึกในตัวผู้ถ่ายทอดสู่ผู้ฝึกปฏิบัติผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กันโตยตรง   TK -> TK



              2.    Externalization  เป็นการแปลงความรู้ที่ฝังลึกในตัวคน (tacit knowledge ) หรือการแบ่งปันประสบการณ์ของบุคคล  ออกมาเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง(explicit knowledge)  ผ่านการสื่อสารโดยการเล่าเรื่องหรือสนทนา (dialogue) ให้กลุ่มสามารถเข้าใจได้ และมีการจดบันทึกความรู้ที่ได้ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร   เช่นนำมาการเขียนเป็นบทความ คู่มือ ตำรา การบันทึกเสียงบทสัมภาษณ์หรือสนทนา  หรือภาพนิ่งภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ เป็นต้น   TK -> EK




              3.    Combination เป็นกระบวนการผนวกรวมความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge)  ที่ได้จากระยะ Externalization  เข้าด้วยกัน     ซึ่งรวมทั้งมีเชื่อมโยงความรู้ภายในกับความรู้ภายนอกซึ่งอาจเป็นบทความ งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์มาต่อยอดความรู้เดิม แล้วหาแนวทางปฏิบัติที่ดีเหมาะสมกับองค์กรมาสร้างเป็นความรู้ชัดแจ้งเรื่องใหม่ มีการกระจายหรือเผยแพร่ความรู้ชัดนั้น โดยอาจใช้รูปแบบของการประชุมเพื่อนำเสนอความรู้ใหม่ๆ ให้สมาชิกในองค์กรได้รับทราบ  หรือการตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่  ในกระบวนการนี้จึงเป็นการสร้างสรรค์ความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge) สู่ความรู้ชัดแจ้ง(explicit knowledge)  EK -> EK




               4.    Internalization    เป็นผลของการเชื่อมโยงการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงจนความรู้ชัดแจ้งนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานความรู้ของบุคคล นั่นหมายถึงความรู้ชัดแจ้งได้พัฒนาไปเป็นกรอบแนวคิดของผู้เรียนรู้ (Mental model) เช่น การศึกษาค้นคว้า ด้วยการอ่าน การฟัง การทดสอบ และลงมือปฏิบัติจริงเกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญาฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เพื่อนำไปถ่ายทอดหมุนเวียนต่อไป      วงจรSECI จะดําเนินไปอย่างต่อเนื่องไม่มีสิ้นสุด EK -> TK

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทฤษฎีการจัดการความรู้ของ มาควอส (Marquardt)

ทฤษฎีการจัดการความรู้ของ มาควอส ( Marquardt) 43.  ทฤษฎีการจัดการความรู้ของ มาควอส ( Marquardt) องค์การแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organiza...